ข้อมูลทั่วไปจังหวัดเพชรบูรณ์

ข้อมูลประวัติเมืองเพชรบูรณ์

 

 

             จังหวัดเพชรบูรณ์มีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ลักษณะทางกายภาพนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วยเนินเขา ป่า และที่ราบเป็นตอนๆสลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงไปใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบและมีเทือกเขาขนาบกันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า[๑] มีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญโดยไหลจากจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ผ่านไปสู่จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตามลำดับ จึงส่งผลให้พื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทำการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมปัจจัยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
กล่าวถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมืองเพชรบูรณ์นั้นเริ่มจาก ชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อครั้งโบราณน่าจะชื่อว่าเมือง “เพชบุระ” ตามที่ปรากฏในจารึกลานทองคำ ที่พบจากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ ซึ่งหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร แต่ในระยะหลังต่อมาแปรเปลี่ยนเป็น “เพชรบูรณ์” กลายความหมายเป็นเมืองที่อุดมด้วยเพชร และได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

              จากการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ผ่านมา พบว่ามีร่องรอยหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ปรากฏอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมา จนกระทั่งถึงในสมัยประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการใช้ตัวอักษรในการบันทึก สื่อสารและถ่ายทอดนั้น พบว่ามนุษย์ในสมัยนั้น มีการดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ในถ้ำเพิงผา รู้จักเพาะปลูกพืชบางชนิด เลี้ยงสัตว์ มีเทคโนโลยีในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้แบบง่ายๆ เชื่อในเรื่องธรรมชาติ และมีประเพณีการฝังศพ จนกระทั่งพัฒนาขึ้นเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่และมีเทคโนโลยีในการผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้น เป็นลำดับ บริเวณที่ปรากฏร่องรอยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น พบหลายพื้นที่ของจังหวัด ได้แก่ ด้านทิศตะวันตกที่อำเภอวังโป่ง อำเภอชนแดน พบเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทหินขัด เช่น กำไลหิน และขวานหิน กำหนดอายุอยู่ในราว ๓,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ด้านทิศใต้ที่อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี และที่อำเภอศรีเทพ ซึ่งมีเมืองโบราณศรีเทพ เป็นเมืองที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน รวมทั้งเป็นเมืองโบราณในยุคต้นประวัติศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุเก่าแก่ไปกว่า ๒,๐๐๐ ปี และยังถือได้ว่าแหล่งโบราณคดีที่พบบริเวณนี้มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับชุนชนโบราณในจังหวัดลพบุรีและบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักอีกด้วยบริเวณด้านทิศเหนือที่อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ในปัจจุบันได้พบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน ทั้งชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ที่ฝังร่วมกับสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับทำจากโลหะ แก้ว หิน และพบตะกรันโลหะ[๒] ซึ่งเป็นหลักฐานทางด้านโลหกรรมในพื้นที่แถบนี้

               ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักการใช้ตัวอักษรแล้ว ได้ถือว่าเข้าสู่ช่วงสมัยประวัติศาสตร์ โดยอาจเริ่มนับตั้งแต่ สมัยที่รับวัฒนธรรมทวารวดี หลักฐานที่ปรากฏชัดเจนในช่วงนี้ได้แก่ที่เมืองศรีเทพ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ และมีร่องรอยการติดต่อสัมพันธ์กับแหล่งชุมชน ซึ่งมีวัฒนธรรมแบบทวารวดีในที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา มีศาสนสถานที่เป็นสถูปเจดีย์เนื่องในศาสนาพุทธ เช่น เขาคลังใน และเขาคลังนอก โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ทั้งธรรมจักร พระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์จำนวนมาก มีจารึกอักษรปัลลวะและหลังปัลลวะ จารึกเนื้อหาเกี่ยวศาสนาเป็นส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ในช่วง ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้วในช่วงประมาณ ๘๐๐ – ๙๐๐ ปีมาแล้ว อิทธิพลของเขมรได้แผ่มาถึงเมืองศรีเทพเช่นเดียวกันกับ เมืองโบราณในเขตภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย มีรูปเคารพและปราสาทอิทธิพลเขมรสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู เช่น ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ฤาษี จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์แห่งเขมรที่แผ่ขยายอำนาจมาถึงยังดินแดนแถบนี้ เมืองศรีเทพก็เจริญอยู่เป็นช่วงสุดท้าย และหลังจากนั้นร่องรอยของเมืองเมืองนี้ก็ได้ขาดหายไป ในช่วงสมัยสุโขทัย เมืองเพชรบูรณ์มีฐานะเป็นเมืองแว่นแคว้นด้านตะวันออกเฉียงใต้ พ่อขุนรามคำแหงได้แผ่ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงการแผ่ขยายมาถึงพื้นที่ด้านตะวันออกของสุโขทัย ตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ ๑ ด้านที่ ๔ และศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ วัดอโศการาม ด้านที่ ๒ พ.ศ.๑๙๔๙

                จากศิลาจารึกหลักที่ ๑ คำว่า “ลุมบาจาย” นั้น เชื่อว่าได้แก่เมืองหล่มเก่า และศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ คำว่า “วัชชปุระ” เชื่อว่าเป็นเมืองเพชรบูรณ์ แสดงให้เห็นว่าอาณาเขตของกรุงสุโขทัย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย (พ.ศ.๑๙๑๑) มีเมืองเพชรบูรณ์เป็นรัฐสีมา[๓]

ก่อนที่กรุงสุโขทัยจะรุ่งเรืองขึ้นมานั้น จารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ (จารึกวัดศรีชุม) ได้ปรากฏชื่อ พ่อขุนผาเมือง (โอรสพ่อขุนนาวนำถุม ผู้ครองเมืองราด) ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว ทำการยึดเมืองสุโขทัยคืนจากขอมสมาสโขลญลำพง และได้ให้พ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัยต่อไป ชาวเพชรบูรณ์จึงเคารพนับถือและได้สร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้ที่อำเภอหล่มสัก เพื่อรำลึกถึงคุณความดีของพระองค์สืบไป

                หลักฐานทางโบราณคดีซึ่งเป็นสิ่งชี้ชัดว่า “เมืองเพชรบูรณ์” เป็นรัฐสีมาของสุโขทัย ได้แก่ พระเจดีย์ทรงดอกตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ของวัดมหาธาตุเมืองเพชรบูรณ์ เช่นเดียวกับวัดมหาธาตุของสุโขทัย เมืองอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ และในการขุดค้นทางโบราณคดีที่พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม วัดมหาธาตุ เมืองเพชรบูรณ์ ของกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้พบศิลปวัตถุมากมาย เช่น เครื่องสังคโลกของไทย และเครื่องถ้วยกับตุ๊กตาจีน

ในสมัยอยุธยา เมืองเพชรบูรณ์ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ในช่วงพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ -๒๐๓๑) ได้กล่าวถึงศักดินาข้าราชการที่มียศสูงสุด มีศักดินาหนึ่งหมื่น หนึ่งในนั้น ได้แก่ พระยาเพชรรัตน์สงคราม (ประจำเพชรบูรณ์) และในช่วงเวลาเดียวกัน เมืองศรีถมอรัตน์ (ศรีเทพ) ขึ้นทำเนียบเป็นหัวเมืองรวมอยู่ด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเป็นที่ พระศรีถมอรัตน์ ตามชื่อเขาแก้วหรือเขาถมอรัตน์ ซึ่งเป็นเขาสำคัญของเมือง เมืองเพชรบูรณ์ยังถูกกล่าวถึงอีกหลายครั้งในฐานะหัวเมืองสำคัญ ดังปรากฏในพงศาวดารไทยรบพม่า สรุปความได้ว่าในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ถูกพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่ายกทัพมาตี ได้มีกองทัพจากพระไชยเชษฐาธิราชแห่งนครเวียงจันทน์ในฐานะพันธมิตร ยกทัพมาช่วยทางด่านนครไทย เข้ามาทางเมืองเพชรบูรณ์

                  ในสมัยพระมหาธรรมราชา เกิดเหตุการณ์พระยาละแวกเจ้าแผ่นดินเขมร ยกทัพมารุกรานหลายครั้ง ในพ.ศ.๒๑๒๕ พระยาละแวกส่งทัพโดยมีพระทศราชาและพระสุรินทรราชาเข้าตีเมืองนครราชสีมา เมื่อได้แล้วจึงเตรียมเคลื่อนทัพไปตีเมืองสระบุรี ในคราวนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ให้พระศรีถมอรัตน์(เจ้าเมืองศรีเทพ สมัยนั้นเรียกว่าเมืองท่าโรง) และพระชัยบุรี (เจ้าเมืองชัยบาดาล) เป็นผู้นำกองทัพหัวเมืองเข้าร่วมขับไล่ข้าศึกจนแตกพ่ายไป

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวิเคราะห์ว่า เมืองเพชรบูรณ์สร้างขึ้นมา ๒ ยุคบนบริเวณเดียวกัน ยุคแรกคงอยู่ในเวลาที่เมืองสุโขทัยหรือพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครอง เพราะสร้างเมืองเอาลำน้ำป่าสักไว้กลางเมืองลักษณะเดียวกับเมืองพิษณุโลก แนวกำแพงเมืองกว้างยาวด้านละ ๘๐๐ เมตร ยุคที่ ๒ น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยมีป้อมและกำแพงลักษณะเดียวกับป้อมกำแพงเมืองที่สร้างที่ลพบุรี เป็นแต่ร่นแนวกำแพงเมืองเล็กลงกว่าเดิม[๔]

สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๘ กองทัพพม่าโดยอะแซหวุ่นกี้ ยกทัพมาตีกรุงธนบุรี ได้ล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ เจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้ตีฝ่านำทัพออกมาได้ และมาชุมนุมพักทัพสะสมเสบียงที่เมืองเพชรบูรณ์

ในช่วงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชื่อเมืองเพชรบูรณ์และศรีเทพ (สีเทพ) ยังปรากฏในเอกสารสมุดไทยดำใบบอกข่าวการสวรรคตของรัชกาลที่ ๒ ในฐานะหัวเมืองขึ้นกรมมหาดไทย

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการยกฐานะของเมืองและเปลี่ยนชื่อเมืองจากศรีเทพเป็นวิเชียรบุรี และสร้างเมืองหล่มสักขึ้น โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่า เดิมบริเวณหล่มเก่ามี “เมืองลม” หรือ “เมืองหล่ม” ในสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองที่ชาวเวียงจันทน์และหลวงพระบางมาอาศัยอยู่จำนวนมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการเปลี่ยนแปลงนามเจ้าเมืองเพชรบูรณ์และเมืองวิเชียรบุรี ซึ่งใช้ชื่อเดิมมาแต่สมัยอยุธยา

                ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ปี มีการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญตั้งเป็นเขตการปกครองใหม่ ขึ้นเป็นมณฑล ในปีพ.ศ.๒๔๔๒มณฑลเพชรบูรณ์ได้ตั้งขึ้นเป็นอิสระเนื่องจากท้องที่มีภูเขาล้อมรอบ การคมนาคมกับมณฑลอื่นไม่สะดวก ลำบากแก่การติดต่อราชการ และโอนเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอวังสะพุง มาขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ ยุบเมืองวิเชียรบุรีเป็นอำเภอ โอนอำเภอบัวชุม อำเภอชัยบาดาลขึ้นกับเมืองเพชรบูรณ์ มณฑลเพชรบูรณ์จึงมีสองเมือง คือ หล่มสัก กับเพชรบูรณ์[๕] ผู้บริหารราชการเป็นตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล ผู้ดำรงตำแหน่งคนแรก คือ พระยาเพชรรัตน์สงคราม (เฟื่อง)

พ.ศ.๒๔๔๗ ได้ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ตั้งเป็นมณฑลอีกในปี พ.ศ.๒๔๕๐ และได้ยุบอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๕๙ จังหวัดเพชรบูรณ์ในขณะนั้นมี ๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวัดป่า(หล่มสัก) อำเภอวิเชียรบุรี และกิ่งอำเภอชนแดน[๖] จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๗๖ ได้ยกเลิกมณฑลต่างๆทั่วประเทศ

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีหลักฐานเอกสารแสดงให้เห็นว่า ทุกอำเภอมีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่คละกันไป ทั้งชาวจีน พม่า ลาว เขมร เงี้ยว แขก มอญ มีอาชีพทำไร่ยาสูบ ทำนา ทำไร่อ้อย และเลี้ยงไหม

                 ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ปี พ.ศ.๒๔๘๖ ได้วางแผนการจัดสร้างนครบาลเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แทนกรุงเทพฯ โดยให้กรุงเทพฯเป็นเมืองท่า ในขณะเดียวกันก็ใช้เพชรบูรณ์เป็นฐานทัพในการขับไล่ญี่ปุ่นด้วย และตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม ห่างจากกรุงเทพ ๓๔๖ กิโลเมตร สามารถติดต่อกับประเทศจีนโดยผ่านพม่าและลาวได้สะดวกเช่นกัน นอกจากนี้แล้วหากเกิดเหตุการณ์ในภาวะสงคราม การขัดแย้งระหว่างประเทศ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษในขณะนั้น เพชรบูรณ์จะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย แต่เนื่องจากระเบียบการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ต้องยกเลิกไป แต่อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนาปรับปรุง และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งอาคารสถานที่ขึ้นมากมายในจังหวัดเพชรบูรณ์ ณ ช่วงเวลานี้ และทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้น

                  ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๐ – ๒๕๒๕ บริเวณพื้นที่รอยต่อ ๓ จังหวัด (เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ต้องการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้แทรกซึมและครอบครอง มีผู้ก่อการร้ายเข้าต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล หลังจากที่สู้รบเป็นเวลา ๑๔ ปีเศษ รัฐบาลจึงได้รับชัยชนะ ปัจจุบันจึงยังมีสถานที่หลงเหลืออยู่เป็นอนุสรณ์บนเทือกเขาค้อที่เคยเป็นสมรภูมิการสู้รบทางอุดมการณ์ และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในปัจจุบัน หลังจากนั้นเมืองเพชรบูรณ์ก็มีรูปแบบการปกครองดังเช่นในปัจจุบัน

                   กล่าวโดยสรุปได้ว่า พื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีหลักฐานการปรากฏอยู่ของชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำป่าสักมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย จากนั้นได้รับอารยธรรมจากภายนอก ได้แก่วัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรโบราณ ทำให้ชุมชนเหล่านั้นมีพัฒนาการด้านต่างๆจนกลายเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่สืบมา เมื่อเข้าสู่ช่วงสมัยสุโขทัย เมืองเพชรบูรณ์มีฐานะเป็นเมืองแว่นแคว้นของกรุงสุโขทัย และในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีเมืองเพชรบูรณ์และเมืองศรีเทพเป็นเมืองสำคัญและต่อเนื่องจนถึงช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงและแบ่งเขตการปกครองอีกหลายครั้ง จนครั้งหนึ่งเมืองเพชรบูรณ์เกือบมีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยแทนกรุงเทพฯ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และหลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงพัฒนาด้านต่างๆมากมาย จนกระทั่งเป็นเมืองเพชรบูรณ์ในปัจจุบัน

 

นายธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์

นักโบราณคดี ปฏิบัติการ

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

ค้นคว้าเรียบเรียง

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. (๒๕๔๑). ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๔.เอ.พี.กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

กรุงเทพมหานคร.

กรมศิลปากร. (๒๕๕๐). อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. รุ่งศิลป์การพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงมหาดไทย. (๒๕๓๕). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดเพชรบูรณ์. บริษัทฟิวเจอร์เพรส.

กรุงเทพมหานคร.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (๒๕๔๓). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์. คุรุสภาลาดพร้าว.กรุงเทพมหานคร.

จังหวัดเพชรบูรณ์. ประวัติจังหวัด. แหล่งที่มา http://www.phetchabun.go.th/data_detail.php?content_id=1.

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (๒๕๕๓). รายงานการสำรวจเบื้องต้นแหล่งโบราณคดีบ้านห้วยใหญ่ใต้.

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. เอกสารถ่ายสำเนา.

[๑] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์ , (กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว ,๒๕๔๓) , ๑.

[๒] อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ , สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี , กรมศิลปากร , รายงานการสำรวจเบื้องต้นแหล่งโบราณคดีบ้านห้วยใหญ่ใต้ , (เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ , ๒๕๕๓) (อัดสำเนา) (สรุปความ)

[๓] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์ , ๒๖.

[๔] ราศี บุรุษรัตนพันธุ์, “จังหวัดเพชรบูรณ์” ใน ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๔, (กรุงเทพฯ :เอ.พี. กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๔๑) , ๔๑-๕๔.

[๕] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์ , ๔๐.

[๖] เรื่องเดียวกัน, ๔๒.

 

 

คำขวัญประจำจังหวัด

 

 

“เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง”

 

 

ตราประจำจังหวัด

 

ตราประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยเพชรกับภูเขาและไร่ยาสูบ อยู่ในรูปวงกลมมี ลายกนกไทยล้อม โดยรอบ เพชรเจียรนัยเป็นรูปหัวแหวน รูปคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับลงดินลอยอยู่บนท้องฟ้า เหนือภูเขา พื้นดินเป็น ไร่ยาสูบ และมีอักษรเขียนว่า “จังหวัดเพชรบูรณ์”

           

 

ความหมายของตราประจำจังหวัด
            ความหมายเกี่ยวกับเพชร มีความหมาย 2 ประการ

            

 

ประการที่ 1 เนื่องจากจังหวัดชื่อเพชรบูรณ์ ซึ่งแปลว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยเพชร และมีผู้เคย ขุดพบหินที่มีความแข็ง มากกว่าหินธรรมดา มีประกายแวววาวสุกใส เหมือนเพชรขุดได้ในเขตบ้านทุ่งสมอ นายาว อำเภอหล่มสัก หินที่ขุดได้นี้ เรียกกันว่า “เขี้ยวหนุมาณ” ซึ่งถือว่าเป็นหิน ตระกูลเดียวกันกับเพชร แต่มีความแข็งน้อยกว่าเพชร มีผู้เชื่อว่าเขี้ยวหนุมาณนี้ ถ้าทิ้งไว้ตามสภาพเดิมนานต่อไปอีกประมาณ 1,000 ปี จะกลาย เป็นเพชรจริง ๆ ได้และนอกจากนี้ยังมีผู้เชื่อว่า ภูเขาชื่อ “ผาซ่อนแก้ว” ในเขตอำเภอหล่มสักมีเพชร จึงตั้งชื่อว่า “ผาซ่อนแก้ว”

           

 

ประการที่ 2 เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีค่าอุดมสมบูรณ์ เช่น ไม้สักในดินมีแร่ธาตุที่มีค่า ตนประมาค่ามิได้ ซึ่งนับว่ามีค่าสูง เช่นเดียวกันกับค่าของเพชรทีเดียวและปรากฏกว่าในเขตตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก เดิมชาวบ้านเรียกว่า “บ้านน้ำบ่อคำ” ซึ่งมี ประวัติว่าเคยเป็นที่ตั้งโรงหล่อ แร่ทองคำของฝรั่งชาวยุโรป ไม่ทราบสัญชาติ มีซากวัตถุก่อสร้างปรากฏร่องรอยเหลืออยู่ความหมายเกี่ยวกับภูเขา เนื่องจากด้วยพื้นที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีภูเขามากมายสลับซับซ้อนเป็นทิวเขาเทือกใหญ่เรียกว่า “เทือกเขาเพชรบูรณ์”ความหมายเกี่ยวกับไร่ยาสูบ

            

 

เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์มียาสูบพื้นเมืองพันธุ์ดีเป็นสินค้าสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ แต่นานมาแล้ว มีรสเป็นเลิศกว่ายาสูบ ที่อื่น ทั้งหมดของเมืองไทย ยาสูบพันธุ์ดี ที่มีชื่อเสียงนี้ ปลูกได้ผลที่บ้านป่าแดง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ แต่ในปัจจุบันนี้ยาสูบพื้นเมืองชนิดนี้มี น้อยลง เพราะราษฎรชาวบ้านกลับมานิยมปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เล่ย์ เพื่อบ่มให้แก่สำนักงานไร่ยาสูบ เพราะได้ราคาดีกว่ายาสูบพื้นเมือง

 

 

ธงประจำจังหวัด

 
 

 

                    พื้นธงเป็น 3 ริ้ว มี 2 สี ริ้วสีขาวอยู่กลาง ใหญ่กว่าริ้วสีเขียวใบไม้ ซึ่งเป็นริ้วที่อยู่ริม 2 ข้าง ประมาณ 1/3 ตรงกลางผืนธงประกอบด้วย เครื่องหมายตราประจำจังหวัด เพชรสีขาว น้ำมันก๊าส มีรัศมีโดยรอบ ภูเขามีสีน้ำเงิน และสีอื่นเหลือบเหมือนของจริง เชิงภูเขาแลเห็นเป็นทิวไม้ขึ้นเป็นสีใบไม้แก่ ต้นยาสูบ สีเขียวใบไม้เหมือนของจริง ตัวอักษร “จังหวัดเพชรบูรณ์” สีแดงลายกนกไทย ล้อมรอบวงกลม เครื่องหมายตราประจำ จังหวัดสีทองตัดเส้นสีแดงผืนธงยาว 250 ซ.ม. กว้าง 150 ซ.ม. ตามเครื่องหมาย ประจำจังหวัดที่ประดิษฐ์อยู่ตรงกลาง ผืนธง มีความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 66 ซ.ม. เทือกเขา เพชรบูรณ์นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงขนานนามว่า ภูเขาบันทัดและเขาปันน้ำยาสูบ พื้นเมือง เพชรบูรณ์ พระองค์ก็ได้ทรงรับรองว่า มีคุณภาพเป็นยอดเยี่ยมกว่ายาสูบที่อื่น ทั้งหมดทั่วเมืองไทย ซึ่งได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือชื่อ “นิทานโบราณคดี” นิทานที่ 10 เรื่องความไข้เมืองเพชรบูรณ์

 

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ต้นไม้ประจำจังหวัด เพชรบูรณ์

ชื่อพันธุ์ไม้ มะขาม
ชื่อสามัญ Tamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น มะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า- แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “ มะขามกระดาน” เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด
ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชีย และแอฟริกาเขตร้อน

 

ดอกไม้ประจำจังหวัด

 

ดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ : ดอกมะขาม

จังหวัดเพชรบูรณ์


อักษรไทย เพชรบูรณ์
อักษรโรมัน Phetchabun
ชื่อไทยอื่น ๆ เพชบุระ
การปกครอง

พื้นที่
 • ทั้งหมด 12,668.416 ตร.กม. (4,891.303 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ อันดับที่ 9
ประชากร (พ.ศ. 2562)
 • ทั้งหมด 992,451 คน
 • อันดับ อันดับที่ 21
 • ความหนาแน่น 78.34 คน/ตร.กม. (202.9 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่น อันดับที่ 63

ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้ง ภายในศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ หมู่ที่ 5 ถนนสระบุรี-หล่มสัก ตำบลสะเดียง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000

แผนที่
ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเพชรบูรณ์เน้นสีแดง

เกี่ยวกับภาพนี้
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย[4] มีพื้นที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของประเทศ มีประชากร 994,397 คน[3] แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ และมีเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก

ศัพท์มูลวิทยา

ชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อสมัยก่อนน่าจะชื่อว่าเมือง “เพชบุระ” ตามที่ปรากฏในจารึกลานทองคำ ที่พบจากเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ ซึ่งหมายถึงเมืองแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร แต่ในระยะหลังต่อมาได้เพื้ยนหรือเปลี่ยนเป็นชื่อ “เพ็ชร์บูรณ์”[5] และเปลี่ยนเป็น “เพชรบูรณ์” กลายความหมายเป็นเมืองที่อุดมด้วยเพชร และได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

เพชรบูรณ์ แปลว่าเมืองพระหรือเมืองวิถีพุทธ หมายถึง เมืองที่ประชาชนดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา คำว่า “เพชร” ในคำว่า เพชรบูรณ์ เป็นศัพท์ทางศาสนา ไม่ได้หมายถึงเพชรที่เป็นอัญมณี (diamond) แต่มาจากคำว่า สัพพัญญู แปลว่า ผู้รู้ทุกอย่าง (หมายถึงพระพุทธเจ้า) แล้วทำให้เหลือสองพยางค์ตามหลักอักขระวิธีเป็น สรรเพชญ์ และเอาคำว่า เพชญ์ คำเดียวมาสนธิกับคำว่า ปุระ รวมกันเป็น เพ็ชญปุระ เพี้ยนมาเป็นเพชรบูรณ์ในปัจจุบัน คล้ายกับชื่อเมือง จันทบูร แผลงมาเป็น จันทบุรี,

เพชรบูรณ์ แปลว่า เมืองพระ, พิษณูโลก แปลว่า เมืองพระวิษณะ, สวรรคโลก แปลว่า เมืองสวรรค์

ประวัติศาสตร์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญตั้งเป็นเขตการปกครองใหม่ ขึ้นเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล ในปี พ.ศ. 2442 มณฑลเพชรบูรณ์ได้ตั้งขึ้นเป็นอิสระ เนื่องจากท้องที่มีภูเขาล้อมรอบ มีการเชื่อมต่อคมนาคมกับมณฑลอื่นไม่สะดวก ลำบากแก่การติดต่อราชการ และโอนเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอวังสะพุง มาขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ ยุบเมืองวิเชียรบุรีเป็นอำเภอ โอนอำเภอบัวชุม (ปัจจุบันเป็นตำบล) อำเภอชัยบาดาลขึ้นกับเมืองเพชรบูรณ์ มณฑลเพชรบูรณ์จึงมีสองเมือง คือ หล่มสัก กับ เพชรบูรณ์[6]

พ.ศ. 2447 ได้ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ตั้งเป็นมณฑลอีกในปี พ.ศ. 2450 และได้ยุบอีกครั้งในปี พ.ศ. 2459 จังหวัดเพชรบูรณ์ในขณะนั้นมี 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวัดป่า (ปัจจุบันคือตำบลในอำเภอหล่มสัก) อำเภอวิเชียรบุรี และกิ่งอำเภอชนแดน[6] จนกระทั่ง พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกมณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง

จังหวัดเพชรบูรณ์มีตำแหน่งทางอุตุนิยมวิทยาในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยเกณฑ์การแบ่งภาคของราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดให้เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดในภาคกลาง[4] จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ กับเส้นแวง 101 องศาตะวันออก ส่วนที่กว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว 55 กิโลเมตร ส่วนที่ยาวที่สุดวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ยาว 296 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 346 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21

อาณาเขต

ภูมิประเทศ

จังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ประมาณ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,917,760 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 114 เมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของประเทศ ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดเพชรบูรณ์นั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ ประกอบด้วยเนินเขา ป่า และที่ราบเป็นตอน ๆ สลับกันไป พื้นที่มีลักษณะลาดชันจากเหนือลงไปใต้ ตอนเหนือมีทิวเขาสูง ตอนกลางเป็นพื้นที่ราบและมีเทือกเขาขนาบกันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า[6] มีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญโดยไหลจากจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ผ่านไปสู่จังหวัดในภาคกลาง แล้วลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตามลำดับ จึงส่งผลให้พื้นที่ดีมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทำการเกษตร

 

ทิวเขาเพชรบูรณ์ในพื้นที่อำเภอเขาค้อ

ภูมิอากาศ

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศล้อมรอบด้วยภูเขา ทำให้สภาพภูมิอากาศแตกต่างกันมากในแต่ละฤดูกาล คือ อากาศจะร้อนมากในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่อำเภอน้ำหนาว อำเภอเขาค้อ และอำเภอหล่มเก่า ส่วนพื้นที่บนภูเขาจะมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี ในฤดูฝนมีฝนตกชุก และมีน้ำป่าไหลหลากมาท่วมในที่ราบ โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักตอนใต้ของจังหวัด ในฤดูแล้งน้ำจะขาดแคลนไม่เพียงพอกับการเกษตรกรรม ในฤดูร้อนและฤดูฝน จะมีอุณหภูมิ 20-24 องศาเซลเซียส[7]

ยุบข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดเพชรบูรณ์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.9
(89.4)
34.4
(93.9)
36.3
(97.3)
37.2
(99)
35.0
(95)
32.9
(91.2)
32.3
(90.1)
31.8
(89.2)
32.0
(89.6)
32.2
(90)
31.6
(88.9)
31.0
(87.8)
33.22
(91.79)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.9
(60.6)
18.9
(66)
21.8
(71.2)
24.1
(75.4)
24.5
(76.1)
24.2
(75.6)
23.8
(74.8)
23.8
(74.8)
23.6
(74.5)
22.6
(72.7)
19.5
(67.1)
16.1
(61)
21.57
(70.82)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 7.0
(0.276)
17.4
(0.685)
34.5
(1.358)
70.3
(2.768)
157.4
(6.197)
153.1
(6.028)
168.5
(6.634)
189.3
(7.453)
211.9
(8.343)
98.3
(3.87)
13.2
(0.52)
3.8
(0.15)
1,124.7
(44.28)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 1 2 4 7 15 17 18 21 18 11 3 1 118
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department

ทรัพยากรธรรมชาติ

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายชนิด ดังนี้

  • แหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วยแม่น้ำป่าสัก ลุ่มน้ำเชิญ ลุ่มน้ำเข็ก ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสายต่าง ๆ
  • ป่าไม้ในจังหวัดเพชรบูรณ์มีเนื้อที่ 2,006.51 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของพื้นที่จังหวัด เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 13 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 2 แห่ง สวนรุกขชาติ 3 แห่ง วนอุทยาน 1 แห่ง สามารถจำแนกตามเขตการ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ได้แก่ เขตเพื่อการอนุรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 58.59 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด เขตเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 28.67 และเขตพื้นที่เหมาะสมแก่การเกษตร ร้อยละ 6.6

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

 

แผนที่อำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 117 ตำบล 1,430 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 11 อำเภอมีดังนี้

การปกครองส่วนท้องถิ่น

จังหวัดเพชรบูรณ์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 128 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์), เทศบาลเมือง 3 แห่ง, เทศบาลตำบล 22 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 102 แห่ง[8] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดเพชรบูรณ์มีดังนี้

เศรษฐกิจ

สภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ในปี พ.ศ. 2539 พบว่า ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 28,982 บาทต่อปี เป็นอันดับ 56 ของประเทศ โดยทั้งจังหวัดมีผลิตภัณฑ์มวลรวม 26,576.729 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาการเกษตรมากที่สุดถึงร้อยละ 33.30 คิดเป็นมูลค่า 8,849.064 ล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาค้าส่ง และค้าปลีกร้อยละ 20.64 คิดเป็นมูลค่า 5,486.151 ล้านบาท และสาขาบริการร้อยละ 12.52 คิดเป็นมูลค่า 3,327.126 ล้านบาท อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 8.03

การเกษตรและอุตสาหกรรม

ภาวะเศรษฐกิจจังหวัด ภาวะการค้าของจังหวัดโดยทั่วไป เศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ปี พ.ศ. 2543 ปรับตัวดีขึ้นจากภาคการเกษตร โดยผลผลิตที่สำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียวผิวมัน และข้าวฟ่าง เนื่องจากราคาปีก่อนจูงใจให้ขยายพื้นที่ปลูก ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวย มีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง ส่วนการอุตสาหากรรมขยายตัวตามการลงทุนด้านอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น โรงสีข้าว ไซโลอบเมล็ดพืช ซึ่งเป็นโรงงานขนาดกลางใช้เงินทุน ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป จังหวัดเพชรบูรณ์มีผลไม้ที่ขึ้นชื่อ คือ มะขามหวาน ซึ่งนิยมเป็นของฝาก

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นมากในช่วงฤดูการท่องเที่ยวของจังหวัด เนื่องจากภาครัฐบาลและเอกชนได้จัดรายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทำให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้นเป็นอย่างมาก

การก่อสร้าง การเงิน และการจัดเก็บภาษีอากร

การก่อสร้างชะลอตัวลดจากปีก่อน โดยการก่อสร้างการให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนยังคงหดตัว จากการจดทะเบียนนิติบุคคลของบุคคลของผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างลดลงร้อยละ 17.64 เงินทุนลดลงร้อยละ 41.56 ตามลำดับภาวะการค้าของจังหวัดในปี พ.ศ. 2543 ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากปีก่อน จะมีการใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงฤดูท่องเที่ยว

ในปี พ.ศ. 2543 จังหวัดเพชรบูรณ์ มีสถาบันการเงินที่ให้บริการแก่ประชาชนทั้งสิ้น 46 แห่ง ซึ่งสถาบันการเงินที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และบริษัทประกันชีวิต

จังหวัดเพชรบูรณ์มีการจัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดา นิติบุคคล อากรแสตมป์ มูลค่าเพิ่ม ธุรกิจเฉพาะและอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 346,963 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนจัดเก็บได้ 394,292 ล้านบาท หรือการจัดเก็บภาษีอากรลดลง ร้อยละ 12.00 ส่วนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต จำนวนทั้งสิ้น 8,591.38 บาท

การศึกษา

การศึกษาแบ่งเป็นระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 546 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 10 แห่ง

การขนส่ง

 

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เส้นทางพาดผ่านอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในอำเภอน้ำหนาว

การขนส่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่จะใช้ระบบถนน เนื่องจากไม่มีทางรถไฟ และมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง คือ ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ การขนส่งทางถนนในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 เป็นทางหลวงสายหลักพาดผ่านในแนวเหนือ-ใต้ ผ่านเขตจังหวัดเป็นระยะทาง 114.834 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัด สามารถใช้ถนนพหลโยธิน จากนั้นเลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ที่แยกพุแค (ประมาณกิโลเมตรที่ 123 ของถนนพหลโยธิน) ผ่านจังหวัดลพบุรี แล้วเข้ามายังจังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านตัวจังหวัด แล้วออกไปยังจังหวัดเลย ระยะทางจากกรุงเทพมหานครมายังตัวจังหวัดอยู่ห่างประมาณ 346 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เชื่อมต่อไปยังจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดขอนแก่นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 113 เชื่อมต่อจังหวัดไปยังจังหวัดพิจิตรทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 เชื่อมต่อไปยังจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดชัยภูมิ

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ

วัฒนธรรมและประเพณี

ดูบทความหลักที่: ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

ภาษาถิ่น

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรที่เป็นคนพื้นถิ่นพูดภาษาถิ่นที่แตกต่างกันแต่ละท้องที่ นอกจากนี้ยัง มีประชากรที่อพยพจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยใช้ภาษาถิ่นเดิมของตน และชาวไทยภูเขาที่พูดภาษาของ เผ่าม้ง จึงทำให้วัฒนธรรมทางภาษาถิ่นของเพชรบูรณ์มีความหลากหลาย ภาษาถิ่นที่ใช้กันในจังหวัดเพชรบูรณ์ สรุปได้ดังนี้

๑. กลุ่มภาษาหล่ม(ลาวหลวงพระบาง) เป็นภาษาถิ่นที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนบน ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว ประชากรในเขตพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นเดิม ภาษาพูดเป็นภาษาถิ่นดั้งเดิมครั้งอพยพ มาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ภาษาหล่มมีการใช้ศัพท์คล้ายกับภาษาไทยอิสาน แต่แตกต่างกันที่ สำเนียง ภาษาหล่มจะมีสำเนียงคล้ายกับภาษาลาวที่ใช้พูดในเมืองหลวงพระบาง ในตำบลต่าง ๆ ในแต่ละ อำเภอ สำเนียงพูดจะแตกต่างกัน เล็กน้อย แต่ภาษาสื่อสารกันได้เพราะใช้ศัพท์ใกล้เคียงกัน ปัจจุบันความ สะดวกทางการคมนาคมและการใช้ภาษาไทยถิ่นกลาง จึงทำให้ภาษาไทยถิ่นกลางปะปนกับภาษาหล่ม เช่น พูดสำเนียงภาษาหล่มโดยใช้ศัพท์ภาษาไทยถิ่นภาคกลาง

๒. กลุ่มภาษาเพชรบูรณ์ กลุ่มภาษานี้จะพูดกันในเขตอำเภอเมืองเป็นภาษาที่มีสำเนียงเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว คำศัพท์ที่ใช้มีทั้งภาษาถิ่นไทยกลาง และภาษาลาวหล่ม

๓. กลุ่มภาษาเพชรบูรณ์ตอนใต้ คือ ภาษาที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนใต้ซึ่งได้แก่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ ภาษาที่ใช้พูดจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ภาษาถิ่นไทยภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นคนท้องถิ่นเดิม และภาษาพูดอีกกลุ่มหนึ่งคือ ภาษาอีสาน ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่เป็นประชากรที่อพยพมาจากจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน แต่ประชากรส่วนใหญ่สามารพูดภาษาเพชรบูรณ์ตอนใต้ได้ทั้งสองกลุ่มภาษาคือภาษาไทยกลางและภาษาอีสาน

๔. กลุ่มภาษาถิ่นไทยกลาง เป็นภาษาที่ใช้พูดทั่วไปในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะเพชรบูรณ์เป็นเมืองที่มีประชากรมาจากหลายท้องที่อพยพเข้ามา จึงใช้ภาษาถิ่นไทยกลางในการสื่อสาร แต่การใช้ภาษาจะมี ศัพท์ภาษาเดิมผสมผสานกันบ้าง

๕. ภาษากลุ่มชาวบน ชาวบนเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของเพชรบูรณ์ สืบเชื้อสายมาจากละว้า มีภาษาพูด เป็นภาษาชาวบน ซึ่งคำศัพท์แตกต่างไปจากภาษากลุ่มอื่น ๆ ปัจจุบันประชากรเชื้อสายชาวบนเป็นชนกลุ่มน้อย มีชุมชนอยู่ที่บ้านน้ำเลา บ้านห้วยไคร้ อำเภอเมือง และบ้านท่าด้วง อำเภอหนองไผ่

๖. ภาษากลุ่มชาวเขา ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบูรณ์มีรูปร่างคล้ายกะทะ มีภูเขาล้อมรอบทุกด้าน จึงมีประชากรส่วนหนึ่งอาศัยอยู่บนเขา ชาวเขาในจังหวัดเพชรบูรณ์ประกอบด้วยชาวเขาเผ่าม้งเป็น ส่วนใหญ่ และเผ่าอื่น ๆ เช่น ลีซอ เป็นต้น ซึ่งอาศัยบริเวณภูทับเบิกและเขาค้อเป็นส่วนใหญ่ หมู่บ้านชาวเขาได้แก่ บ้านเข็กน้อย หมู่บ้านม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บ้านเล่าลือ บ้านเล่าน้ง บ้านเพชรดำ อำเภอเขาค้อ และ บ้านทับเบิก บ้านนาสะอุ้ง บ้านดอยน้ำเพียงดิน บ้านภูโปด อำเภอหล่มเก่า

สถานที่สำคัญ

 

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

 

ทิวทัศน์บริเวณอำเภอเขาค้อ

1.อำเภอเมืองเพชรบูรณ์

  • ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์
  • วัดมหาธาตุ
  • วัดไตรภูมิ
  • วัดช้างเผือก
  • วัดเพชรวรารามพระอารามหลวง
  • พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติ
  • วัดถ้ำน้ำบัง
  • อ่างเก็บน้ำห้วยท่าพล
  • อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่
  • อ่างเก็บน้ำห้วยป่าเลา
  • อ่างเก็บน้ำคลองห้วยนา
  • อ่างเก็บน้ำคลองเฉลียงลับ
  • อ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง
  • อุทยานแห่งชาติตาดหมอก
  • น้ำตกธาราเอราวัณ
  • ถนนคนเดินคนเด็ดซะบูน
  • หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์
  • หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
  • หอเกียรติยศเพชบุระ
  • สวนสาธารณะหนองนารี
  • ตลาดโต้รุ่งเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์
  • ไร่กำนันจุล

2.อำเภอหล่มสัก

  • อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง
  • วัดถ้ำสมบัติ
  • ศาลเจ้าพ่อผาแดง
  • อ่างเก็บน้ำห้วยขอนแก่น
  • อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำก้อ
  • อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำชุนใหญ่
  • อ่างเก็บน้ำโคกเดิ่นฤๅษี
  • ผาแดง (แหล่งรอยเลื่อนเพชรบูรณ์)
  • สะพานห้วยตอง (เชื่อมแผ่นโลก)
  • จุดชมวิวผาหงษ์
  • โนนหัวโล้น (แพะเมืองผีหล่มสัก)
  • น้ำตกธารทิพย์
  • น้ำตกตาดฟ้า
  • วังหินลาด
  • ตีมีดโบราณบ้านใหม่
  • ถนนคนเดินไทหล่ม
  • พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์
  • สวนสาธารณะหนองแค
  • ตลาดสดเทศบาลเมืองหล่มสัก

3.อำเภอศรีเทพ

4.อำเภอเขาค้อ

  • พระตำหนักเขาค้อ
  • ไร่บีเอ็น
  • วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว
  • วัดกองเนียม
  • จุดชมทะเลหมอกไปรษณีย์เขาค้อ
  • เขาตะเคียนโง๊ะ
  • กังหันลมเขาค้อ
  • เข็กน้อย (หมู่บ้านม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย)
  • ไร่สตรอเบอรี่เขาค้อ
  • พิพิธภัณฑ์อาวุธ (ฐานอิทธิ)
  • อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ
  • พระบรมธาตุเจดีย์กาญจนาภิเษก
  • ดอยตั๋วเพ่ง
  • น้ำตกศรีดิษฐ์
  • น้ำตกวังตุ้ม
  • น้ำตกสันติสุข
  • แก่งบางระจัน
  • อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หน่วยสนสวย)
  • อุทยานแห่งชาติเขาค้อ

5.อำเภอน้ำหนาว

  • อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
  • น้ำตกตาดพรานบ่า
  • น้ำตกทรายทอง
  • น้ำตกตาดฟ้า และ น้ำตกตาดทิดมี (เชื่อมต่อกับจังหวัดขอนแก่น)
  • น้ำตกเหวทราย
  • ภูผาจิต
  • ผาล้อมผากอง
  • จุดชมวิวภูค้อ
  • สวนสนบ้านแปก
  • สวนสนภูกุ่มข้าว
  • แคนยอนน้ำหนาว
  • เลยดั้น (สามพันโบกเพชรบูรณ์)
  • ถ้ำใหญ่น้ำหนาว
  • ผารอยตีนอาร์คอโซร์
  • แปลงสัปปะรดบ้านซำม่วง

6.อำเภอหล่มเก่า

  • ภูทับเบิก
  • วัดตาล
  • วัดทุ่งธงไชย
  • น้ำตกตาดโดด
  • น้ำตกวังฮาง
  • น้ำตกวังใหญ่
  • น้ำตกซำบุ่น
  • ต้นแม่น้ำป่าสักบ้านสักง่า
  • ตลาดหล่มเก่า
  • แปลงต้นพญาเสือโคร่งบ้านทับเบิก (ซากุระเมืองไทย)
  • ถนนลอยฟ้า (ช่วงตาดกลอย – วังสะพุง)

7.อำเภอวิเชียรบุรี

  • วัดวิเชียรบำรุง
  • วัดถ้ำเทพบันดาล
  • น้ำพุร้อนพุเตย
  • น้ำผุดบ้านน้ำเดือด
  • น้ำตกซับพลู เสาอัคนี
  • สุสานหอย 15 ล้านปี
  • ท้องทะเลดึกดำบรรพ์ภูน้ำหยด
  • ถนนสายไก่ย่างวิเชียรบุรี

8.อำเภอชนแดน

  • วัดพระพุทธบาทเขาน้อย (หลวงพ่อทบองค์ใหญ่)
  • อ่างเก็บน้ำหนองตาด
  • อ่างเก็บน้ำกุฏิพระ
  • น้ำตกแสนสมบูรณ์
  • ผาทอง
  • เขาหินปะการัง
  • ตลาดชนแดน

9.อำเภอวังโป่ง

  • น้ำตกบ่อหญ้า
  • น้ำตกสาระนิน
  • น้ำตกลาดค่า
  • ผานกนางแอ่น
  • อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำขึ้นน้ำลง
  • ถ้ำผาโค้ง
  • ผาเจ็ดสี
  • ถ้ำปากเสือ
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวังโป่ง – ชนแดน

10.อำเภอหนองไผ่

  • วัดธรรมยาน
  • วัดโพธิ์เจดีย์ลอย
  • น้ำตกซับชมภู
  • น้ำตกวังเหว
  • น้ำตกพริ้วไสว
  • ท้องทะเลดึกดำบรรพ์บ้านโภชน์
  • อ่างเก็บน้ำคลองลำกง
  • อ่างเก็บน้ำคลองอู่เรือ
  • อ่างเก็บน้ำคลองยาง

11.อำเภอบึงสามพัน

  • วัดซับไพเราะ
  • บึงสามพัน
  • ท้องทุ่งทานตะวันที่บึงสามพัน

อ้างอิง

  1.  ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  2.  ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “ข้อมูลการปกครอง.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. ↑ กระโดดขึ้นไป:3.0 3.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2563. สืบค้น 27 มกราคม 2563.
  4. ↑ กระโดดขึ้นไป:4.0 4.1 การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย
  5.  ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  6. ↑ กระโดดขึ้นไป:6.0 6.1 6.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์ , (กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว ,2543).
  7.  สารสนเทศจังหวัด สภาพทั่วไป เว็บไซต์จังหวัดเพชรบูรณ์
  8.  ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  9.  กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  10.  ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  11.  กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  12.  กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  13.  กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/y_stat53.html 2553. สืบค้น 30 มกราคม 2554.
  14.  กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552.”203.113.86.149/stat/y_stat.htmlสืบค้น 30 มีนาคม 2553
  15.  กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์16.42°N 101.16°E