ข้อมูลทั่วไปจังหวัด

ประวัติความเป็นมา

               สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมใช้ชื่อว่า สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. สังกัดกรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย และต่อมาได้โอนมาสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 โดยให้บริการด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ประชาชนที่ประสบปัญหาสังคม ฟื้นฟูและพัฒนากลุ่มผู้ด้อยโอกาสทุกประเภท อาทิ เด็ก เยาวชน สตรีคนพิการ ผู้ติดเชื้อ และผู้สูงอายุ ในปี 2545 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งมีผลบังคับ ใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดได้ย้ายไปสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดเพชรบูรณ์ และภายหลังได้เปลี่ยนเป็นสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25547 เป็นราชการส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
              สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบูรณ์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนกระทรวงในจังหวัด มีภารกิจหลักในการ ดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงใน ชีวิตสถาบันครอบครัวและชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

คำขวัญประจำจังหวัด

 

“เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง”

 

 

ตราประจำจังหวัด

 

ตราประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยเพชรกับภูเขาและไร่ยาสูบ อยู่ในรูปวงกลมมี ลายกนกไทยล้อม โดยรอบ เพชรเจียรนัยเป็นรูปหัวแหวน รูปคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับลงดินลอยอยู่บนท้องฟ้า เหนือภูเขา พื้นดินเป็น ไร่ยาสูบ และมีอักษรเขียนว่า “จังหวัดเพชรบูรณ์”

           

 

ความหมายของตราประจำจังหวัด
            ความหมายเกี่ยวกับเพชร มีความหมาย 2 ประการ

            

 

ประการที่ 1 เนื่องจากจังหวัดชื่อเพชรบูรณ์ ซึ่งแปลว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยเพชร และมีผู้เคย ขุดพบหินที่มีความแข็ง มากกว่าหินธรรมดา มีประกายแวววาวสุกใส เหมือนเพชรขุดได้ในเขตบ้านทุ่งสมอ นายาว อำเภอหล่มสัก หินที่ขุดได้นี้ เรียกกันว่า “เขี้ยวหนุมาณ” ซึ่งถือว่าเป็นหิน ตระกูลเดียวกันกับเพชร แต่มีความแข็งน้อยกว่าเพชร มีผู้เชื่อว่าเขี้ยวหนุมาณนี้ ถ้าทิ้งไว้ตามสภาพเดิมนานต่อไปอีกประมาณ 1,000 ปี จะกลาย เป็นเพชรจริง ๆ ได้และนอกจากนี้ยังมีผู้เชื่อว่า ภูเขาชื่อ “ผาซ่อนแก้ว” ในเขตอำเภอหล่มสักมีเพชร จึงตั้งชื่อว่า “ผาซ่อนแก้ว”

           

 

ประการที่ 2 เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีค่าอุดมสมบูรณ์ เช่น ไม้สักในดินมีแร่ธาตุที่มีค่า ตนประมาค่ามิได้ ซึ่งนับว่ามีค่าสูง เช่นเดียวกันกับค่าของเพชรทีเดียวและปรากฏกว่าในเขตตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก เดิมชาวบ้านเรียกว่า “บ้านน้ำบ่อคำ” ซึ่งมี ประวัติว่าเคยเป็นที่ตั้งโรงหล่อ แร่ทองคำของฝรั่งชาวยุโรป ไม่ทราบสัญชาติ มีซากวัตถุก่อสร้างปรากฏร่องรอยเหลืออยู่ความหมายเกี่ยวกับภูเขา เนื่องจากด้วยพื้นที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีภูเขามากมายสลับซับซ้อนเป็นทิวเขาเทือกใหญ่เรียกว่า “เทือกเขาเพชรบูรณ์”ความหมายเกี่ยวกับไร่ยาสูบ

            

 

เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์มียาสูบพื้นเมืองพันธุ์ดีเป็นสินค้าสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ แต่นานมาแล้ว มีรสเป็นเลิศกว่ายาสูบ ที่อื่น ทั้งหมดของเมืองไทย ยาสูบพันธุ์ดี ที่มีชื่อเสียงนี้ ปลูกได้ผลที่บ้านป่าแดง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ แต่ในปัจจุบันนี้ยาสูบพื้นเมืองชนิดนี้มี น้อยลง เพราะราษฎรชาวบ้านกลับมานิยมปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เล่ย์ เพื่อบ่มให้แก่สำนักงานไร่ยาสูบ เพราะได้ราคาดีกว่ายาสูบพื้นเมือง

 

 

ธงประจำจังหวัด

 
 

                    พื้นธงเป็น 3 ริ้ว มี 2 สี ริ้วสีขาวอยู่กลาง ใหญ่กว่าริ้วสีเขียวใบไม้ ซึ่งเป็นริ้วที่อยู่ริม 2 ข้าง ประมาณ 1/3 ตรงกลางผืนธงประกอบด้วย เครื่องหมายตราประจำจังหวัด เพชรสีขาว น้ำมันก๊าส มีรัศมีโดยรอบ ภูเขามีสีน้ำเงิน และสีอื่นเหลือบเหมือนของจริง เชิงภูเขาแลเห็นเป็นทิวไม้ขึ้นเป็นสีใบไม้แก่ ต้นยาสูบ สีเขียวใบไม้เหมือนของจริง ตัวอักษร “จังหวัดเพชรบูรณ์” สีแดงลายกนกไทย ล้อมรอบวงกลม เครื่องหมายตราประจำ จังหวัดสีทองตัดเส้นสีแดงผืนธงยาว 250 ซ.ม. กว้าง 150 ซ.ม. ตามเครื่องหมาย ประจำจังหวัดที่ประดิษฐ์อยู่ตรงกลาง ผืนธง มีความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 66 ซ.ม. เทือกเขา เพชรบูรณ์นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงขนานนามว่า ภูเขาบันทัดและเขาปันน้ำยาสูบ พื้นเมือง เพชรบูรณ์ พระองค์ก็ได้ทรงรับรองว่า มีคุณภาพเป็นยอดเยี่ยมกว่ายาสูบที่อื่น ทั้งหมดทั่วเมืองไทย ซึ่งได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือชื่อ “นิทานโบราณคดี” นิทานที่ 10 เรื่องความไข้เมืองเพชรบูรณ์

 

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ต้นไม้ประจำจังหวัด เพชรบูรณ์

ชื่อพันธุ์ไม้ มะขาม
ชื่อสามัญ Tamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น มะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า- แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “ มะขามกระดาน” เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด
ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชีย และแอฟริกาเขตร้อน

 

ดอกไม้ประจำจังหวัด

 

ดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ : ดอกมะขาม

Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial